คู่มือการใช้งาน Google Meet

คู่มือการใช้งาน Google Meet

ขั้นตอนการใช้งาน

ในกรณีผู้ใช้ลืมรหัสผ่าน สามารถดำเนินการแก้ไขได้ด้วยตัวเอง *ต้องมีการตั้งค่าข้อมูลการติดต่อ 

  • เข้าไปยัง mail.rmu.ac.th หรือ gmail.com  ระบุอีเมล์ กดตรง หากลืมรหัสผ่าน

    (1.1) กดตรง หากลืมรหัสผ่าน

  • กดลองวิธีอื่น

    (2.1) ลองวิธีอื่น

  • ระบบจะให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ทําการบันทึกไว้ เมื่อกรอกเบอร์โทรศัพท์ถูกต้อง ระบบจะส่งรหัสยืนยันไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุ นํารหัสยืนยันมากรอกเพื่อกู้คืนีเมล์และตั้งรหัสผ่านใหม่

    (3.1) ระบุรหัสยืนยันเพื่อตั้งรหัสผ่านใหม่

    *** หากไม่เคยระบุหมายเลขโทรศัพท์ตามขั้นตอน การตั้งค่าข้อมูลการติดต่อ จะไม่สามารถกู้คืนบัญชีได้ ให้ติดต่อศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยตรง

    กดเข้าใช้งานผ่านเว็บบราวเซอร์ หรือผ่านทางแอปพลิเคชัน

    คลิกที่การเริ่มประชุมใหม่ (JOIN OR START A MEETING) เพื่อเริ่มการสร้างห้องเรียน
    • คลิกที่การเริ่มประชุมทันที ก็จะพบกับหน้านี้

    – ให้เลือก อนุญาต ไมโครโฟน และกล้อง (เพื่อเป็นการเปิดกล้องและเสียง)

    • เมื่อทำขั้นตอนข้างต้นสำเร็จแล้ว ก็จะพบกับหน้านี้

    – โดยมุมซ้ายบนจะแสดงแถบการแจ้งเตือนว่าการประชุมพร้อมใช้งานแล้ว

     

    • แถบการแจ้งเตือนดังกล่าว

    – จะแสดง icon เพิ่มคนอื่นๆ (เพิ่มผู้ที่จะเข้าร่วมอบรมโดยการเชิญผ่านอีเมล)

    – แสดง ลิงก์ของห้องประชุม (สามารถคัดลอกเพื่อส่งให้ผู้ที่จะเข้าร่วมอบรมได้ โดยกดที่ icon สีเหลี่ยม)

    – เมื่อกด (เพิ่มคนอื่นๆ) จะเป็นการเพิ่มคนอื่นๆ (เพิ่มผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมโดยการเชิญผ่านอีเมล)

    – มุมล่างจะแสดง Code ของห้องประชุมนี้ (สามารถส่งให้ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมเพื่อเข้าร่วมได้)

    – สามารถนำโค้ดมากรอกได้ในช่องเพื่อเข้าร่วมการประชุม(สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุม)

    – เมื่อผู้เข้าร่วมการประชุมได้กรอก Code และขอเข้าร่วม ก็จะขึ้นแถบร้องขอตามภาพ

    แถบ Menubar มุมขวาล่าง จะแสดงเมนูเพื่อการจัดการต่างๆ

    -เมนูความปลอดภัยในการประชุม(เป็นส่วนของการตั้งค่าต่างๆ)

    – เมื่อคลิก(การตั้งตั้งค่าทั้งหมด) ก็จะแสดงส่วนการตั้งค่า 3 ส่วน ได้แก่ เสียง วิดีโอ และตัวควบคุมของผู้จัด

    – ตัวควบคุมของผู้จัด (จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับ การดูแลการประชุมและการเข้าถึงการประชุม)

    – เสียง (ส่วนนี้เป็นการจัดการเสียง input และ output)

    ** input เลือกอุปกรณ์ที่รับเสียงจากผู้จัดอบรมเวลาพูด (อุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ไมค์ แยกจากตัวคอมพิวเตอร์ต่างหาก)

    – วิดีโอ

    – กล้อง ส่วนนี้จะ เป็นการเลือกอุปกรณ์ที่รับเสียงภาพผู้จัดอบรมเวลาพูด (อุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ไมค์ กล้อง แยกจากตัวคอมพิวเตอร์ต่างหาก)

    – ความละเอียดในการส่ง-รับ ส่วนนี้จะเป็นการปรับแต่งวิดีโอเพื่อให้การประชุมได้ภาพที่คมชัด (โดยเลือกได้สูงสุด 720p)

    – กิจกรรม จะมีเมนูย่อยคือ
    – การบันทึก

    – ไวท์บอร์ด

    – การบันทึก

    – เมื่อกดเริ่มบันทึกแล้วจะขึ้นสถานะบันทึกเป็นจุดสีแดงที่มุมซ้ายบน

    – หยุดบันทึก

    – เมื่อกดหยุดบันทึกจะมีการแจ้งเตือน ว่าเมื่อหยุดบันทึกระบบจะบันทึกไฟลไปยัง Google drive

    – แชทกับทุกคน

    – ส่วนนี้ผู้เข้าร่วมประชุมในห้องสามารถคุยกันผ่านช่องแชทได้

    – แสดงทุกคน

    ส่วนนี้จะแสดงแถบรายชื่อของผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่ในห้อง (โดยสามารถจัดการผู้เข้าร่วมการประชุมได้)

    – แถบเมนูบาร์ ส่วนกลางของจอ มี 6 ส่วน (จากซ้ายไปขวา)

    – เปิด-ปิดไมค์โครโฟน (เปิดหรือปิดเสียงไมค์โครโฟน)

    – เปิด-ปิดกล้อง (เปิดหรือปิดกล้อง)

    – ยกมือ

    – นำเสนอทันที

    – ตัวเลือกเพิ่มเติม

    – จบการประชุม

    – ยกมือ (เพื่อตอบคำถามหรือเช็คชื่อ)

    – โดยจะมีแถบแจ้งเตือนแจ้งขึ้นด้านซ้ายล่าง

    – นำเสนอทันที

    – (นำเสนอทั้งหน้าจอ) เป็นการนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับชมแบบแสดงทุกส่วนของหน้าจอผู้จัดประชุมด้วย

    – สามารถหยุดการแชร์หน้าจอของเราได้ที่ปุ่มหยุดการแชร์

    – (นำเสนอแบบหน้าต่าง) ผู้จัดประชุมด้วยสามารถเลือกแสดงหน้าที่จะนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับชมได้

    – เมื่อเลือกแล้วจะได้ดังภาพ

    – ตัวเลือกเพิ่มเติม

    – จะมีเมนูต่างๆให้จัดการเพิ่มเติม

     

Was this helpful?

5 Yes   No
Related Articles