คู่มือการใช้งาน Google Classroom
Google Classroom คืออะไร
Classroom เป็นบริการสำหรับ Google Apps for Education ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างและเก็บงานได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลือง กระดาษ มีคุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น สามารถทำสำเนาของ Google เอกสารสำหรับผู้เรียนแต่ละ คนได้โดยอัตโนมัติ โดยระบบจะสร้างโฟลเดอร์ของไดร์ฟสำหรับแต่ละงานและผู้เรียนแต่ละคนเพื่อช่วยจัด ระเบียบใหผู้เรียนสามารถติดตามว่ามีอะไรครบกำหนดบ้างในหน้างาน และเริ่มทำงานได้ด้วยการคลิกเพียง ครั้งเดียว ผู้สอนสามารถดูได้อย่างรวดเร็วว่าใครทำงานเสร็จหรือไม่เสร็จบ้าง ตลอดจนสามารถแสดงความ คิดเห็นและให้คะแนนโดยตรงได้แบบเรียลไทม์ใน Google Classroom
1. ตั้งค่าได้ง่ายดาย ผู้สอนสามารถเพิ่มผู้เรียนได้โดยตรง หรือแชร์รหัสเพื่อให้ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนได้ การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครู่เดียว
2. ประหยัดเวลา กระบวนการของงานเรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ผู้สอนสร้าง ตรวจ และ ให้คะแนนงานได้อย่างรวดเร็วในที่เดี่ยวกัน
3. ช่วยจัดระเบียบ ผู้เรียนสามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียน ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดร์ฟโดยอัตโนมัติ
4. สื่อสารกันได้ดียิ่งขึ้น Classroom ทำให้ผู้สอนสามารถส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ ทันที ผู้เรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้
5. ประหยัดและปลอดภัย เช่นเดียวกับบริการอื่นๆ ของ Google Apps for Education คือClassroom จะไม่แสดงโฆษณา ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของผู้เรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับ มหาวิทยาลัย
การสร้างชั้นเรียน
สำหรับการใช้งาน Google Classroom ในบทบาทของผู้สอนนั้นสามารถทำได้ดังนี้
- สร้างชั้นเรียนออนไลน์สำหรับรายวิชานั้นๆ ได้
- เพิ่มรายชื่อผู้เรียนจากบัญชีของ Google เข้ามาอยู่ในชั้นเรียนได้
- สามารถกำหนดรหัสผ่านให้ผู้เรียนนำไปใช้เพื่อเข้าชั้นเรียนเองได้
- สามารถตั้งโจทย์ มอบหมายการบ้านให้ผู้เรียนทา โดยสามารถแนบไฟล์และกำหนดวันที่ส่งการบ้านได้
- ผู้เรียนเข้ามาทำการบ้านใน Google Docs และส่งเข้า Google Drive ของผู้สอน โดยจะจัดเก็บ ไฟล์งานให้อย่างเป็นระบบภายใต้ Folder “Classroom”
- สามารถเข้ามาดูจำนวนผู้เรียนที่ส่งการบ้านภายในกำหนดและยังไม่ได้ส่งได้
- ตรวจการบ้านของผู้เรียนแต่ละคน พร้อมทั้งให้คะแนนและคำแนะนำได้
- สามารถเชิญผู้สอนท่านอื่นเข้าร่วมในชั้นเรียนเพื่อร่วมกันจัดการเรียนการสอนได้
- ปรับแต่งรูปแบบของชั้นเรียนตามธีมหรือจากภาพส่วนตัวได้
- สามารถใช้งานบนมือถือ ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ได้สำหรับ Google Classroom ผู้สอนไม่จำเป็นต้องรู้วิธีการเขียนโค้ดหรือสร้างเว็บไซต์หรือสับสนกับ
ขั้นตอนมากมายที่ต้องใช้ในการสร้างชั้นเรียน สำหรับ Google Classroom เป็นเรื่องง่ายในการสร้างชั้นเรียน เพียงแค่คลิกที่ปุ่มและการเพิ่มข้อความบางส่วน
ขั้นตอนการสร้างชั้นเรียน ด้วย Google Classroom
- เข้าสู่ Google Classroom ที่ https://classroom.google.com/ ด้วย Browser Google Chrome
- ดำเนินการ login ด้วย user ที่เป็น @rmu.ac.th
(user@rmu.ac.th; 6666xxxx@rmu.ac.th) แล้วกด ถัดไป
3. เมื่อเข้าสู่ Google Classroom ครั้งแรก จะต้องดำเนินการเลือกบทบาทในการใช้งาน โดย สามารถเลือกได้ในส่วนของ เลือกบทบาทของคุณ? คลิกเลือก “ฉันเป็นครู” ในกรณีเป็นผู้สอน หรือผู้สร้างรายวิชา คลิกเลือก “ฉันเป็นนักเรียน” ในกรณีเป็นผู้เรียน
หมายเหตุ : การใช้งาน Google Classroom จะต้องระวังตอนเลือกว่าสถานะ เพราะถ้าเลือกผิดจะ ไม่สามารถแก้ไขเองได้ จะต้องให้ Admin แก้สิทธิ์ให้ (Admin ของระบบ Google ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)

- 1. ชื่อชั้นเรียน (Class name) ชื่อชั้นเรียนหรือชื่อวิชา
- 2. ห้อง (Section) ชื่อห้องเรียน กลุ่มเรียน หรือเวลาเรียน
- 3. เรื่อง รายละเอียดเรื่องที่จะสอน
- 4. เมื่อทำการกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ดำเนินการคลิก “สร้าง”
หน้าจอการทำงานของ Google Classroom
หมายเลข 1
- สตรีม: แทบเมนูการใช้งานของผู้สอนและผู้เรียน ที่ใช้ในการแจ้งข่าวสาร มอบหมายงาน ส่งงาน หรือแชร์เอกสารประกอบการสอนต่างๆ ในรายวิชานั้นๆ
- งานของชั้นเรียน : การสร้างงาน การมอบหมายงานและสั่งงานต่างๆ
- ผู้คน: แถบเมนูแสดงรายชื่อผู้เรียน การเพิ่มผู้เรียน เพิ่มผู้สอนร่วม รวมไปถึงแสดงรหัส ในการเข้าชั้นเรียนในรายวิชานั้นๆ
- คะแนน : คะแนนของนักเรียนที่ส่งงานในงานนั้นๆ
หมายเลข 2 รูปแบบของ Banner ซึ่งสามารถเลือกสี รูปแบบที่มี หรือรูปแบบที่สร้างเองนำมา เป็น Banner ได้
หมายเลข 3 ชื่อรายวิชาและรหัสรายวิชา
หมายเลข 4 สร้างห้องสำหรับสอนผ่าน Google meet
หมายเลข 5 รหัสของชั้นเรียน
หมายเลข 6 การสร้างกิจกรรมกระดานเสวนาหรือการพูดคุย
การเปลี่ยน Theme หรือ Banner
การเปลี่ยน Theme หรือ Banner สามารถดำเนินการได้ดังนี้
- หากต้องการใช้รูปแบบที่มีให้ ให้คลิกที่ “กำหนดเอง” เลือก อัพโหลดรูปภาพ
- เลือกธีม เลือกภาพ เลือกรูปแบบที่ต้องการ
- แล้วกด เลือกธีมของชั้นเรียน
- เมื่อทำเสร็จทุกขั้นตอนแล้วจะมีแถบแจ้งเตือนแสดงดังภาพ
การจัดการข้อมูลทั่วไปของชั้นเรียน
การสร้างงาน แบบทดสอบและคำถาม
- เลือกหัวข้อ “งานของชั้นเรียน”
- เลือก “สร้าง”
- เลือกสิ่งที่จะสร้างไปยังชั้นเรียน
งานของชั้นเรียน
การสร้างงาน การมอบหมายงานและสั่งงานต่างๆ
ส่วนที่ 1 ส่วนนี้สามารถแนบเอกสาร ลิงก์ และงานได้
ส่วนที่ 2 เมื่อกำหนดรายละเอียดเรียบร้อยแล้วให้กดมอบหมาย (สามารถกำหนดเวลาในการมอบหมายงานได้)
- เมื่อสร้างงานสร็จก็จะปรากฏชื่องาน และเวลาที่สร้างงานดังภาพ
ผู้คน
แถบเมนูแสดงรายชื่อผู้เรียน การเพิ่มผู้เรียน เพิ่มผู้สอนร่วม รวมไปถึงแสดงรหัส ในการเข้าชั้นเรียนในรายวิชานั้นๆ
การเพิ่มครูผู้สอนเข้ามาร่วมในชั้นเรียนด้วย
- กดเลือก “ผู้คน”
- คลิกเลือก “เชิญครู”
- กรอกอีเมลครูที่จะเชิญเข้ามาร่วมห้องด้วย
- แล้วคลิกเลือก “เชิญ”
การเพิ่มนักเรียนเข้ามาร่วมในชั้นเรียนด้วย
- กดเลือก “ผู้คน”
- คลิกเลือก “เชิญนักเรียน”
- กรอกอีเมลนักเรียนที่จะเชิญเข้ามาร่วมห้องด้วย หรือคัดลอกลิงก์ส่งไปให้นักเรียนเข้าร่วม
- แล้วคลิกเลือก “เชิญ”
การลบนักเรียนหรือครูในชั้นเรียน
- คลิกเลือก “ผู้คน”
- คลิกเลือก “ดำเนินการ”
- คลิกเลือก “นำออก”
- จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาว่าต้องการนำออกใช่ไหม แล้วคลิกเลือก “นำออก”
คะแนน : คะแนนของนักเรียนที่ส่งงานในงานนั้นๆ
สร้างห้องสำหรับสอนผ่าน Google meet
- เลือกสร้างลิงก์
- พอกดสร้างลิงก์แล้วจะมีแถบแจ้งเตือนดังภาพ (จากนั้นกดบันทึก)
- กด “เข้าร่วม”
- เมื่อกด “เข้าร่วม” ระบบก็จะนำคุณไปยังหน้าของ Google Meet หลังจากนั้นคุณสามารถสอนได้เลย
- กลับมาที่ Google Classroom คุณสามารถคัดลอกลิงก์ส่งให้นักเรียนเพื่อเข้าร่วมห้องเรียนได้
การจัดการลิงก์ Meet
- สามารถ คัดลอก รีเซตลิงก์ หรือนำลิงก์ออกได้
นำลิงก์ออก
- การนำลิงก์ออกเป็นการปิดห้องการสอนใน Google Meet
- เมื่อเลือกนำลิงก์ออก จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาถามอีกครั้งว่าจะนำออกหรือไม่ (กดเลือกนำออก)
- จากนั้นลิงก์ก็จะหายไป
รหัสของชั้นเรียน
- เป็นรหัสสำหรับผู้เรียนที่ใช้เข้าเรียน สามารถคัดลอกลิงก์ให้ผู้เรียนได้ รีเซ็ตรหัสชั้นเรียน และปิดใช้งาน
การสร้างกิจกรรมกระดานเสวนาหรือการพูดคุย
- คลิกลงในช่อง “ประกาศบางอย่างในชั้นเรียน”
- เพิ่มข้อความบางอย่างที่คุณต้องการในชั้นเรียน
- สามารถแนบไฟล์ ลิงก์ วิดีโอ ได้
- พอเสร็จขั้นตอน คลิกเลือก“โพสต์ เพื่อโพสต์ลงไปยังชั้นเรียนเลย” หรือ “กำหนดเวลา เพื่อกำหนดเวลาของโพสต์”
- เมื่อทำการโพสต์เสร็จก็จะแสดงตามรูป
- เราสามารถแก้ไข ลบ หรือคัดลอกลิงก์โพสต์ได้
การเก็บบันทึกรายวิชาที่สอน
- เป็นการเก็บบันทึกข้อมูลรายวิชาเอาไว้
เข้าดูรายวิชาที่เราจัดเก็บ

2. จะเห็นรายวิชาที่เราเก็บ
กู้คืน ลบ รายวิชาที่เราจัดเก็บ
การกู้คืนรายวิชาที่จัดเก็บ
- เลือก “กู้คืน”
- จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาถามอีกครั้งว่าจะกู้คืนหรือไม่ (เลือกกู้คืน)
การลบรายวิชาที่จัดเก็บ
- เลือก “ลบ”
- จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาถามอีกครั้งว่าจะกู้คืนหรือไม่ (เลือกลบ)